โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร

 

กรุงเทพมหานครมีสถานะเป็นเมืองหลวงแห่งประเทศไทย และยังเป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดของประเทศไทย โดยมีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่า 6 ล้านคน และมีประชากรแฝงอีกกว่า 2 ล้านคน

 

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชากรหลั่งไหลเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครคือความต้องการแรงงานของเมืองหลวง ทั้งนี้ ความต้องการแรงงานมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้แรงงานบางกลุ่มกลายเป็นที่ต้องการของตลาด ในขณะเดียวกันแรงงานบางกลุ่มก็ถูกเลิกจ้างได้ ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานของแรงงาน กรุงเทพมหานคร โดยสำนักพัฒนาสังคมได้เล็งเห็นถึงประเด็นดังกล่าว จึงมีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครขึ้น มีเป้าหมายเพื่อเป็นแหล่งศึกษาด้านวิชาชีพ สร้างโอกาสให้ผู้ว่างงานและผู้ถูกเลิกจ้างได้ศึกษาในด้านวิชาชีพตามความถนัดและความสามารถเพื่อจะได้นำความรู้ไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัวได้ รวมไปถึงเป็นการช่วยเหลือผู้ที่ไม่มีโอกาสศึกษาวิชาชีพในเวลาปกติด้วยเช่นเดียวกัน

 

โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครมีหลักสูตรมากกว่า 200 หลักสูตรให้เลือกเรียนตามความต้องการ และมีบุคลากรด้านการศึกษาเพื่อดำเนินการการเรียนการสอนกว่า 200 คน เมื่อจบหลักสูตรผู้เรียนจะได้รับใบประกาศรับรอบเพื่อใช้ประกอบการสมัครได้

 

การเรียนการสอนของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร

การเรียนการสอนของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 3 ภาคเรียน ดังนี้

  • ภาคเรียนที่ 1 รับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เปิดเรียนวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 20 สิงหาคม
  • ภาคเรียนที่ 2 รับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม เปิดเรียนวันที่ 1 กันยายน ถึง 4 ธันวาคม
  • ภาคเรียนที่ 3 รับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน เปิดเรียนวันที่ 20 ธันวาคม ถึง 26 มีนาคม

เวลาในการทำการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 4 รอบ ได้แก่

  • วันจันทร์ – ศุกร์ รอบเช้า เวลา 9.00 – 12.00 น.
  • วันจันทร์ – ศุกร์ รอบบ่าย เวลา 13.00 – 16.00 น.
  • วันจันทร์ – ศุกร์ รอบค่ำ เวลา 17.00 – 20.00 น.
  • วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 16.00 น.

 

ตัวอย่างหลักสูตรที่เปิดสอน

ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา ดังนี้

  1. สาขาวิชาช่างยนต์ วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ งานรถจักรยานยนต์ งานช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ งานเครื่องจักรยานยนต์ งานไฟฟ้ารองรับน้ำหนักและห้ามล้อจักรยานยนต์ งานเครื่องยนต์แก๊สโซลีน งานเครื่องยนต์แก๊สโซลีนหัวฉีด งานเครื่องยนต์ดีเซล งานปรับอากาศรถยนต์ งานไฟฟ้ารถยนต์ งานเครื่องล่างรถยนต์ งานส่งกำลังรถยนต์ และงานติดตั้งแก๊สรถยนต์
  2. สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ ช่างเครื่องเสียง-วิทยุ ช่างเครื่องเสียง ช่างโทรทัศน์ชั้นต้น ช่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ ช่างซ่อมโทรทัศน์ และช่างเครื่องขยายเสียง
  3. สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดให้ความร้อน การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดมอเตอร์ เครื่องปรับอากาศ การพันมอเตอร์ การควบคุมมอเตอร์ และเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
  4. สาขาวิชาช่างเครื่องเรือนไม้ วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ เครื่องเรือนห้องนั่งเล่น

ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ประกอบด้วย 2 สาขาวิชา ดังนี้

  1. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ พิมพ์ดีดไทยและคอมพิวเตอร์เบื้องต้น พิมพ์ดีดอังกฤษและคอมพิวเตอร์เบื้องต้น อินเตอร์เน็ตและการสร้างเว็บไซต์ และการใช้งานโมบายเทคโนโลยี
  2. สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ภาษาอังกฤษในงานธุรกิจบริการภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร ภาษาจีนในงานธุรกิจบริการ ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสาร ภาษาเกาหลีเพื่อการสื่อสาร ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพ ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และภาษาจีนเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพ

ประเภทวิชาคหกรรม ประกอบด้วย 7 สาขาวิชา ดังนี้

  1. สาขาวิชาแฟขั่นและสิ่งทอ วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ เสื้อผ้าสตรี สร้างแบบเสื้อผ้าสตรี ชุดสูทสตรี ออกแบบแฟชั่น ชุดโอกาสพิเศษ ชุดชั้นในในสตรี เสื้อผ้าบุรุษ ผลิตภัณฑ์งานผ้า เสื้อสตรี เสื้อผ้าเพื่อการค้า ตัดเย็บกระโปรงสตรี และชุดติดกัน
  2. สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องนุ่งห่ม วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าบุรุษ อุตสาหกรรมกางเกงบุรุษ อุตสาหกรรมเสื้อผ้ายืด และอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเด็ก
  3. สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ ขนมอบ อาหารไทย อาหารนานาชาติ อาหารไทย และขนมไทย
  4. สาขาวิชาศิลปะประดิษฐ์ วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ การจัดดอกไม้ ใบตองและแกะสลัก งานศิลปะประดิษฐ์ตามสมัยนิยม แลการะจัดดอกไม้เพื่ออาชีพ
  5. สาขาวิชาเสริมสวย วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ การแต่งผมสตรี การซอยผมสตรี การแต่งหน้าและแต่งเล็บ การม้วนผม การแต่งหน้า เกล้าผมและแต่งเล็บ และการเกล้าผม
  6. สาขาวิชาตัดผมสุภาพบุรุษ วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ การตัดผมสุภาพบุรุษ และการซอยผมสุภาพบุรุษ
  7. สาขาวิชาการตัดแต่งขนสุนัข วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ การตัดแต่งขนสุนัข

ประเภทวิชาศิลปกรรม ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา ดังนี้

  1. สาขาวิชาศิลปหัตถกรรมและเครื่องประดับ วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ การทำตัวเรือนรูปพรรณและเครื่องประดับ การทำตัวเรือนเครื่องประดับ การตรวจสอบและวิเคราะห์อัญมณี และการเจียระไนพลอย
  2. สาขาวิชาศิลปะการดนตรี วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ คีย์บอร์ด กีต้าร์ และการขับร้อง
  3. สาขาศิลปหัตถกรรม วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ บาติก

ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1 สาขาวิชา ดังนี้

  1. สาขานวดแผนไทยประยุกต์ วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ การนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ การนวดน้ำมันหอมระเหย และการนวดฝ่าเท้า

ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย 1 สาขาวิชา ดังนี้

  1. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิชาที่เปิดสอน ได้แก่ ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์กราฟิกและแอนิเมชั่น อินเตอร์เน็ตสำหรับงานอีคอมเมิร์ช การผลิตสื่อภาพยนต์ด้วยระบบดิจิทัล คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศเพื่องานอาชีพ และการผลิตเห็ดเพื่อการค้า

แต่ละหลักสูตรมีค่าใช้จ่ายในการสมัครเรียนหลักสูตรละ 105 บาท ยกเว้นหลักสูตรคอมพิวเตอร์และหลักสูตรสปา จะมีค่าใช้จ่ายในการสมัครเรียน 305 บาท

 

สถานที่ตั้งและช่องทางการติดต่อโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครมีอยู่ทั้งสิ้น 10 แห่ง ดังนี้

  1. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ดินแดง 1) เลขที่ 4095/25-26 ซอยประชาสงเคราะห์ 17 ถนนประชาสงเคราะห์ แขวง/เขต ดินแดง กทม. 10400
    โทร. 02 246 1592

    เว็บไซต์ http://www.dindang1.net/ และ https://www.facebook.com/dindaengone
  2. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (บางรัก) เลขที่ 99 ถนนศรีเวียง (หลัง สน.ยานนาวา) แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500
    โทร. 02 236 6929
  3. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ดินแดง 2) เลขที่ 4095/25-26 ถนนมิตรไมตรี 3 แขวง/เขต ดินแดง กทม. 10400
    โทร. 02 246 5769
    เว็บไซต์ https://www.dindang2.ac.th/ และ https://www.facebook.com/dindang2.ac.th/
  4. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (บ่อนไก่) เลขที่ 99/3 ซอยปลูกจิต ถนนพระราม 4  แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม. 10330
    โทร. 02 251 7950
  5. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (อาทร สังขะวัฒนะ) เลขที่ 208 หมู่ 1 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กทม. 10140
    โทร. 02 426 3653
  6. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุปถัมภ์) เลขที่ 38 หมู่ 4 วัดศรีนวลธรรมวิมล ซอยเพชรเกษม 81 ถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ แขวง/เขตหนองแขม กทม. 10160
    โทร. 02 429 3573
    เว็บไซต์ https://www.facebook.com/luangporBMA/
  7. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (คลองเตย) เลขที่ 6/199 ล็อก 6 ถนนอาจณรงค์  แขวง/เขต คลองเตย กทม. 10110
    โทร. 02 240 0009

    เว็บไซต์ http://www.khlongtoei.net/ และ https://www.facebook.com/khlongtoei.log6/
  8. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ม้วน บำรุงศิลป์) เลขที่ 6/246 ซอยนาคนิวาส 43 ถนนลาดพร้าว 71 แขวง/เขต ลาดพร้าว กทม. 10230
    โทร. 02 514 1840

    เว็บไซต์ https://mounbumrungsil.com/ และ https://www.facebook.com/bkkmbrs/?locale2=th_TH
  9. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (หนองจอก) เลขที่ 46/4 ถนนเชื่อมสัมพันธ์ แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กทม. 10530
    โทร. 02 543 2903
    เว็บไซต์ https://www.facebook.com/NongJokVocationTraining/
  10. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (กาญจนสิงหาสน์ อุปถัมภ์) เลขที่ 686 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอย 35 แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กทม. 10170
    โทร. 02 410 1012
    เว็บไซต์ https://www.facebook.com/kanjanasinghas/

ผู้สนใจสามารถสมัครเรียนได้ที่โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครทั้ง 10 แห่งตามที่อยู่ข้างต้น หรือสามารถสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ www.bmatraining.ac.th

 

 ติดต่อสอบถามรายละเอียด

  • โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครทั้ง 10 แห่ง
  • กลุ่มงานการศึกษาอาชีพ สำนักพัฒนาสังคม โทร. 02 247 9496

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

“โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร”

http://www.bangkok.go.th/social/page/sub/13710/โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร

“กรุงเทพมหานคร”

https://th.wikipedia.org/wiki/กรุงเทพมหานคร

“สรุปผลที่สำคัญ ประชากรแฝงในประเทศไทย พ.ศ. 2562”

http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาประชากร/ประชากรแฝง/2562/Population_62.pdf

 

 

Skip to content