หมอชาวบ้าน

เจ้าของภูมิปัญญา  นายประนุช  จิวานิช  หรือลุงเย็น  ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ ๕๐  หมู่ ๒ ตำบลเกาะนางคำ  อำเภอปากพะยูน  จังหวัดพัทลุง

ความเป็นมาของบุคคลคลังปัญญา

        นายประนุช  จิวานิช  หรือลุงเย็น  เกิดเมื่อวันที่ ๑  สิงหาคม  ๒๔๘๙  อายุ ๗๕  ปี  ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ ๕๐ หมู๋ ๒  บ้านเกาะยวน  ตำบลเกาะยวน  ตำบลเกาะนางคำ  อำเภอปากพะยูน  จังหวัดพัทลุง   ลุงเย็นได้รับการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจากบรรพบุรุษและสั่งสมประสบการณ์เพื่อการรักษาความเจ็บป่วยให้แก่ชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นและชุมชนใกล้เคียง  โดยมรประวัติย่อดังนี้  ได้รับศาสตร์การรักษาชาวบ้านจาก  พ่อของลุงเย็น  ชื่อตาหยอม  ดั้งเดิมเป็นคนท้องถิ่นบ้านท่าเนียน  หมู่ ๘  ตำบลเกาะนางคำ  อำเภอปากพะยูน  จังหวัดพัทลุง  ตาหยอมได้บวชเป็นตาสำหรุด (ตาสำหรุด  คือผู้ชายแต่บวชชี)  เมื่ออายุประมาณ  ๘๕  ปี  ที่วัดช่องเขาที่จะนะ  จังหวัดสงขลา  ต่อมาได้ขออนุญาตเจ้าอาวาส  ไปวัดที่เขาชัยสน  เพื่อศึกษาศาสตร์ในการรักษาชาวบ้าน  ตาหยอมนับถือปู่เจ้า  ที่วัดเขาชัยสน  รับรักษาคนด้านไสยศาสตร์เรื่อยมา  จนอายุได้ ๑๐๕  ปี  พ่อไม่สามารถรักษาชาวบ้าน   ลุงเย็นในฐานะลูกชายคนหนึ่งได้ศึกษาทางด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง  จึงรับหน้าที่เป็นหมอชาวบ้านแทนพ่อ  ซึ่งกว่าที่พ่อจะครอบมือ (มอบหมายให้)ต้องใช้เวลา ๔  ปี  ลุงเย็นรับมอบหมายจากพ่อเรื่องหมอชาวบ้าน  ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๐  นับถึงวันนี้ ก็  ๔๖  ปี  ลุงเย็นเคยมีรายได้จากการรักษาชาวบ้านเป็นเงิน ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี

จุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น  ในการรักษาชาวบ้าน  ๑ ราย  จะมีขั้นตอนดังนี้

         ๑.ชาวบ้านนำพานธูปเทียนมาเล่าให้หมอชาวบ้านว่าตนเองโดนอะไรมา

         ๒.หมอชาวบ้านแจ้งให้ชาวบ้านที่มารักษากลับมาอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น

         ๓.ค่ำคืนนั้นหากว่าหมอชาวบ้านฝันว่าตนเองวิ่งหนีออกจากบ้านหลังนั้น  ก็แจ้งชาวบ้านว่าหมอรักษาไม่ได้  แต่ถ้าปู่เจ้ามาเข้าฝันว่าให้ทำอะไร/อย่างไร  คนป่วยรายนั้นหายแน่นอน

รายละเอียดของภูมิปัญญาท้องถิ่น

         ลักษณะและกระบวนการหมอชาวบ้านรักษาผู้ป่วยโดยไม่ได้หวังเงินทอง  และไม่อาจคิดค่ารักษาพยาบาลใจตนเองได้เพราะครูของหมอชาวบ้านมักอนุญาตให้รับแต่เพียงข้าวตอก  ดอกไม้  และเงินค่าครูเพียงเล็กๆ น้อยๆ  เท่านั้น  ซึ่งสะท้อนให้เห็นคุณค่าเบื้องหลัง  คือ  ความเสียสละเพื่อผู้อื่นและความซื่อสัตย์ต่ออาชีพของตนเอง  อีกทั้ง  หมอชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีระดับชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับเคียงกับชาวบ้านมาก  รวมทั้งมีจริธรรมสูง  จึงมีความเข้าใจและสามารถสื่อสารกับคนไข้ได้ดีและเป็นกันเอง

 

Skip to content