ชื่อภูมิปัญญา การทำปลาดุกร้า
เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น นางนิยม ณ พัทลุง ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ ๑๐๐ หมู่ ๑ บ้านฝาละมี ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ความเป็นมาของบุคคลคลังปัญญา
นางสาวนิยม ณ พัทลุง อายุ ๗๑ ปี เป็นคนพื้นที่ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญามาจากคุณยาย ซึ่งเป็นคนบ้านฝาละมี ตำบลฝาละมี อำเภอฝาละมี จังหวัดพัทลุง และได้นำความรู้ที่เคยทำปลาดุกร้า โดยการนำปลามาหมักดองผ่านกรรมวิธีการแบบคนโบราณ “ปราดุกร้า” มองเผินๆ นึกว่าปลาเค็ม แต่ไม่ใช่เลย “ปลาดุกร้า” เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อถนอมอาหารของชาวใต้ตั้งแต่โบราณ นับ ๑๐๐ ปี ชาวบ้านจะนำปลาดุกมาหมักด้วยเกลือและน้ำตาล ซึ่งทำแบบง่ายๆตามความเข้าใจของคนโบราณ นางสาวนิยม ซึ่งมีความรู้ในการทำปลาดุกร้าที่สืบทอดจากคูรยายซึ่งทำปลาดุกร้าที่มีรสชาติอร่อยและคนที่ซื้อไปรับประทานแล้วอร่อยถูกปาก เมื่อนำมาทอดโดยใช้ไฟอ่อนๆ หมั่นกลับตัวปลาเวลาทอดจะได้ไม่ไหม้ สีจะไม่สวยหอมเย้ายวน แต่หากจะปากปรุงแบบโบราณคือ ย่างด้วยเตาถ่าน จะทำให้ปลาดุกร้าหอมยิ่งขึ้น และอร่อยมากขึ้น
จุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น
การหมักและผ่านวิธีการในช่วงฤดูฝน ในขณะเดียวกันเราจึงถามว่า คนโบราณบอกว่า ปลาร้าที่หนอนขึ้นคือปลาร้าที่อร่อย จึงทำในช่วงฤดูฝน
วัตถุดิบที่ใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญา ซึ่งพื้นที่อื่นไม่มี ได้แก่
การหมักด้วยน้ำตาลทรายขาว และหมักในช่วงฝนตกจะได้ปลาที่รสชาติดี
รายละเอียดของภูมิปัญญาท้องถิ่น
มีการแสวงหาแนวทางและการทำปลาดุกร้าที่มีรสชาติอร่อยและสามารถสรา้งรายได้ให้ครอบครัวได้เป็นอย่างดี