ชื่อ นายช่วง สกุล สิงโหพล ชื่อเล่น ลุงช่วง เลขบัตรประจำตัวประชาชน 3-8001-01202-58-7
เกิดวันที่ – เดือน – พ.ศ. 2487 อายุ 77 ปี ภูมิลำเนา จังหวัดนครศรีธรรมราช เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย
ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 126/3 หมู่ที่ 5 ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช
รหัสไปรษณีย์ 80000 โทรศัพท์ 080-5251-677 วุฒิการศึกษา ระดับประถมศึกษา
ความรู้/ความเชี่ยวชาญ/ด้านภูมิปัญญา การปลูกผักเกษตรอินทรีย์ /การทำปุ๋ยนมจุลินทรีย์ชีวภาพ /การทำปลาดุกร้าและการทำน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 7 ปี
นายช่วง สิงโหพล หลังจากเกษียณอายุราชการ ซึ่งตนเองก็มีความสนใจในการทำเกษตรและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้ว และได้ไปศึกษาดูงานด้านหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเริ่มจากการปลูกพืชผักสวนครัวและขยายการปลูกผักหลากหลายชนิดและเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กลับครอบครัว จนปัจจุบันกลายมาเป็นอาชีพหลักและเป็นแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาดูงานภายในตำบลและอำเภอ รวมถึงหน่วยงานต่างๆที่มีความสนใจ ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในตำบลและตำบลใกล้เคียงที่มีความสนใจ
แนวทางการใช้ชีวิตด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การเริ่มเปิดใจในการเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก่อน โดยการไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากนั้นก็เริ่มมาพลิกฟื้นผืนดินตนเองซึ่งเป็นดินเปรี้ยวที่ไม่สามารถปลูกอะไรได้เลย โดยการแนวทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชการที่9 มาใช้ในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอพียง ดังนี้
การพัฒนาปรับปรุงดิน
โดยการให้หญ้าแฝกมาปลูกในพื้นที่ของตนเอง เพื่อใช้รากของหญ้าแฝกใช้ในการระเบิดดิน และใช้ โดไมและปุ๋ยหมักชีวภาพ/น้ำหมักชีวภาพ ในการพัฒนาปรับปรุงดิน เพื่อปรับสภาพของดินที่เปรี้ยวให้ดีขึ้น แต่ก็ต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาปรับปรุงดินในระยะเวลาที่นานประมาณ 1-2 ปี
การพัฒนาแหล่งน้ำ
เนื่องพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชการที่9 ในการดำเนินการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แหล่งน้ำมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นเราต้องจัดระบบน้ำ ให้ดีและเพียงพอในการใช้ ดังนั้นลุงช่วง สิงโหพล จึงขุดสระน้ำในพื้นที่เพื่อไว้ใช้ และเลี้ยงปลา
การทำการเกษตรอินทรีย์
เริ่มจากการปลูกของที่ละน้อยเพื่อใช้ในการเรียนรู้ การบริหารจัดการน้ำ / การให้ให้อาหารกับดิน ดินก็จะให้อาหารกับเรา การปลูกของที่กินและกินของที่ปลูก โดยใช้หลักเกษตรอินทรีย์ในการปลูก ใช้เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองและการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านการปลูกผักเกษตรอินทรีย์ / การทำน้ำส้มควันไม้ /การทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับบุคคลและกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจ ได้นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
การยึดหลักคุณธรรม
การไม่ทำร้ายธรรมชาติ /การไม่ทำร้ายสุขภาพตนเองและการไม่ทำร้ายผู้บริโภค โดยการปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ และมีผักที่ปลอดภัยในการบริโภคแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้าน ร่วมถึงการจำหน่ายให้กับผู้บริโภคการบริหารจัดการกลุ่ม
การบริหารจัดการกลุ่ม
โดยใช้รูปแบบคณะกรรมการ มีคณะกรรมการทั้ง 13 หมู่บ้าน เพื่อร่วมกันในการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันแก้ปัญหา หาช่องทางในการจัดจำหน่าย และการร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสมาชิกในในกลุ่ม
การส่งเสริมสนับสนุน ร่วมดำเนินกิจกรรม โดย กศน.อำเภอพระพรหม
1.ด้านวิชาการ ในการจัดระบบ วิทยากร การจัดทำเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันแก้ปัญหากับกลุ่ม แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเครือข่ายตำบลช้างซ้าย
3. การสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินกิจกรรม ของสมาชิกกลุ่ม แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเครือข่ายตำบลช้างซ้าย
4. การช่วยในการประชาสัมพันธ์ในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม
5.การช่วยในเรื่องระบบสารสนเทศ เช่น การทำหลักสูตร