สิทธิของคนพิการเพื่อขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดคดีความ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
สิทธิของคนพิการเพื่อขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดคดีความ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 คนพิการสามารถขอความช่วยเหลือทางกฎหมายและการจัดการหาทนายความว่าต่างแก้ต่างทางคดีให้ได้รับความเป็นธรรมได้ตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนด ดังนี้
ประเภทคดีที่ให้ความช่วยเหลือ:
คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง คดีแรงงาน และคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ความช่วยเหลือทางกฎหมาย:
-
- การให้คำปรึกษาหารือทางกฎหมาย
- การให้ความรู้ทางกฎหมาย
- การจัดทำนิติกรรมสัญญา
- การไกล่เกลี่ยหรือการประนีประนอมยอมความ
- การจัดหาทนายความ
- การให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ ในทางคดี
เกณฑ์รายได้ของผู้ขอรับการช่วยเหลือ:
ผู้ขอรับการช่วยเหลือที่จะได้รับค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือทางกฎหมายหรือจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดีจะต้องมีเกณฑ์รายได้ไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการพลเรือนสามัญระดับปฏิบัติการ (15,000 บาท) หรือเป็นกรณีที่คนพิการได้รับความเสียหายเนื่องจากการถูกเลือกปฏิบัติ
วิธีการยื่นคำขอ:
ให้คนพิการที่ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากการถูกละเมิดสิทธิยื่นคำขอด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือตามแบบคำขอสำหรับผู้ขอรับการช่วยเหลือทางกฎหมายหรือจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดี (แบบ กม.1) ด้วยตนเอง ณ สถานที่ยื่นคำขอ หรือส่งทางไปรษณีย์
สามารถดาวน์โหลดแบบคำขอได้ที่นี่ https://onedrive.live.com/?cid=65D5012DE2F3DEF4&id=65D5012DE2F3DEF4%211693&parId=65D5012DE2F3DEF4%21124&o=OneUp
สถานที่ยื่นคำขอ:
-
- กรุงเทพมหานคร: ให้แจ้งหรือยื่นคำขอต่อกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ โทร. 02 659 6399
- ส่วนภูมิภาค: ให้แจ้งหรือยื่นคำขอต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาลเมือง
ติดต่อสอบถามรายละเอียด:
-
- กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ โทร. 02 659 6399
- ส่วนภูมิภาค ติดต่อได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สามารถค้นหมายเลขโทรศัพท์ของแต่ละจังหวัดได้ที่ https://www.m-society.go.th/news_view.php?nid=10783
การขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดคดีความจากหน่วยงานอื่น
คนพิการยังสามารถขอความช่วยเหลือทางกฎหมายและการจัดการหาทนายความว่าต่างแก้ต่างทางคดีได้จากหน่วยงานอื่น ๆ นอกจากหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ดังนี้
คลินิกยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
ให้บริการคำปรึกษาทางกฎหมาย รับเรื่องราวร้องทุกข์ รับคำร้องขอเงินค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา รับคำร้องขอคุ้มครองความปลอดภัยแก่พยานในคดีอาญา รับคำร้องไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท ส่งเสริมสิทธิของผู้ต้องหาในการสอบสวนคดีอาญา และจ่ายค่าป่วยการแก่ที่ปรึกษากฎหมายในชั้นสอบสวนคดีเยาวชนและครอบครัว
ติดต่อสอบถามรายละเอียด:
-
- กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารราชบุรี ดิเรกฤทธิ์ (อาคาร เอ) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. สายด่วนคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ 1111 กด 77
- สำนักงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พื้นที่ 1-4 สามารถค้นหมายเลขโทรศัพท์ของแต่ละสำนักงานได้ที่ http://www.rlpd.go.th/rlpdnew/2012-06-20-07-49-52
- คลินิกยุติธรรมในสำนักงานยุติธรรมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ สามารถค้นหมายเลขโทรศัพท์ของแต่ละจังหวัดได้ที่ https://www.moj.go.th/view/42757
- Line ID: rlpdconsulation
กองทุนยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
ให้บริการสนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายตามรายการ ดังนี้
-
- สนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายในการวางเงินประกันปล่อยตัวชั่วคราว
- สนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายในการจ้างทนายความว่าความในคดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง หรือการบังคับคดี
- สนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายในการชำระค่าธรรมเนียมขึ้นศาลและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ในคดีแพ่ง และคดีปกครอง
- สนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเกี่ยวกับการพิสูจน์ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าวัสดุอุปกรณืเครื่องมือที่ใช้ในการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมเอกสาร ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินเผชิญสืบของศาล ค่าใช้จ่ายในการสอบแนวเขตรังวัดที่ดิน หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศหรือดาวเทียม และการอ่าน แปล ตีความ และวิเคราะห์ภาพถ่ายดังกล่าว
- สนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายอื่นของผู้ขอรับการสนับสนุน ได้แก่ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก ค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นและเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
- สนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายอื่นเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือให้ได้รับความปลอดภัยจากการก่อการอาชญากรรมหรือป้องกันการถูกปองร้ายเพราะได้เข้าช่วยเหลือภารกิจของเจ้าหน้าที่รัฐหรือประชาชน
- สนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายอื่นอันเนื่องมาจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิดทางอาญา การกระทำความผิดโดยมิชอบทางปกครอง หรือการกระทำละเมิดในลักษณธที่มีผลกระทบต่อประชาชนหรือกลุ่มบุคคลตั้งแต่สิบรายขึ้นไปหรือที่มีหรืออาจมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการบุติธรรม
- สนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายอื่น เพื่อให้ไปเป็นตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
ติดต่อสอบถามรายละเอียด:
-
- กรุงเทพมหานคร ติอต่อได้ที่กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารราชบุรี ดิเรกฤทธิ์ (อาคาร เอ) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. สายด่วนคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ 1111 กด 77
- ส่วนภูมิภาค ติดต่อได้ที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ สามารถค้นหมายเลขโทรศัพท์ของแต่ละจังหวัดได้ที่ https://www.moj.go.th/view/42757
สำนักงานอัยการสูงสุด
บริการให้ความช่วยเหลือตามรายการ ดังนี้
-
- ให้การคุ้มครองสิทธิทางศาลตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ
- ให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือทำนิติกรรมสัญญา และไกล่เกลี่ยประนีประนอมระงับข้อพิพาท
- ให้การช่วยเหลือทางอรรถคดี โดยจัดหาทนายความอาสาดำเนินการทางศาล
- ส่งเสริมสนับสนุนการประนอมและระงับข้อพิพาทในระดับท้องถิ่น
- เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายต่าง ๆ แก่ประชาชน
- ฝึกอบรมให้ความรู้ทางกฎหมายแก่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ
- ให้การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
- ให้การคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนระหว่างประเทศ
ติดต่อสอบถามรายละเอียด:
-
- กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ กรุงเทพมหานคร โทร. 02 142 1436 หรือ 02 142 1444
- ส่วนภูมิภาค ติดต่อได้ที่สำนักงานอัยการจังหวัด
สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ผู้มาร้องขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความฯ ต้องเป็นผู้ยากไร้และไม่ได้รับความเป็นธรรม เมื่อผู้มาร้องขอความช่วยเหลือมีคุณสมบัติครบทั้ง 2 ประการจึงจะรับให้ความช่วยเหลือ
โดยสภาทนายความฯ บริการให้การช่วยเหลือดำเนินคดีให้แก่ประชาชนในส่วนของการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
-
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมศาล ในทางปฏิบัติให้ทนายอาสาแจ้งให้ผู้รับความช่วยเหลือเป็นผู้จ่ายเงินดังกล่าว
- ค่าทนายความหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ของทนายความ ผู้ได้รับความช่วยเหลือไม่ต้องจ่าย
ติดต่อสอบถามรายละเอียด:
-
- ติดต่อด้วยตนเองได้ที่สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร หรือสายด่วน 1167
เนติบัณฑิตยสภาในพระบรมราชูปถัมภ์
ตามระเบียบเนติบัณฑิตยสภาว่าด้วยการจัดระเบียบสำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยภสา พ.ศ. 2541 กำหนดให้สำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย ดังนี้
-
- ให้คำแนะนำและปรึกษาปัญหากฎหมายแก่ประชาชนทั่วไปที่มาขอคำแนะนำและคำปรึกษา
- ให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดีแก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่ผู้มีฐานะยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งตนเองไม่สามารถดำเนินคดีได้ โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- เป็นการร้องขอด้วยความสุจริต และเป็นกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
- เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและมีฐานะยากจน
- เป็นผู้ไม่มีความประพฤติเสียหายหรือเสื่อมเสียศีลธรรมอันดีต่อประชาชน
- รูปคดีทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงสามารถให้ความช่วยเหลือได้
ติดต่อสอบถามรายละเอียด ขอรับคำแนะนำและคำปรึกษา:
-
- ติดต่อสอบถามรายละเอียดและมาขอรับคำปรึกษาด้วยตนเอง ณ สำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ชั้น 1 อาคารเนติบัณฑิตยสภา ถ.กาญจนาภิเษก แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
- ติดต่อสอบถามรายละเอียดและขอรับคำปรึกษาทางโทรศัพท์ 02 887 6801–7 ต่อ 104, 108, 109 หรือ 02 887 6811 และโทรสาร 02 887 6811
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
“คู่มือการช่วยเหลือทางกฎหมายและจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดีแก่คนพิการ – คณะอนุกรรมการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่คนพิการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” https://onedrive.live.com/?cid=65D5012DE2F3DEF4&id=65D5012DE2F3DEF4%211693&parId=65D5012DE2F3DEF4%21124&o=OneUp
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยการช่วยเหลือทางกฎหมายและจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดีแก่คนพิการ พ.ศ. 2552