ปุ๋ยหมัก หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากหมักบ่มสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้สลายตัว และผุพังไปบางส่วน ทำให้ได้ปุ๋ยที่มีลักษณะสีคล้ำดำ มีลักษณะเป็นผง ละเอียดเหมาะ สำหรับการปรับปรุงดิน และให้ธาตุอาหารแก่พืช วัสดุอินทรีย์ที่ใช้สำหรับการหมัก อาจเป็นเศษพืชสด วัสดุอินทรีย์เผา รวมถึงอาจผสมซากของสัตว์ หรืออาจผสมปุ๋ยคอกก็ได้ และหากนำมากองรวมกัน พร้อมรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ จุลินทรีย์ก็จะทำการย่อยสลายขึ้นซึ่งสังเกตได้จากกองปุ๋ยหมักจะมีความร้อนเกิดขึ้น เมื่อเกิดความร้อนจึงจำเป็นต้องคลุกกลับกองปุ๋ย และรดน้ำให้ทั่ว ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึง และหากความร้อนในกองปุ๋ยหมักมีอุณหภูมิใกล้เคียงกันในทุกจุด และความร้อนมีน้อยจึงจะแสดงได้ว่า ปุ๋ยหมักปุ๋ยพร้อมใช้งานแล้ว ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายได้ดีแล้วจะมีลักษณะเป็นเม็ดละเอียดสีน้ำตาลดำ มีความร่วนซุย และมีกลิ่นฉุนของการหมัก เมื่อนำปุ๋ยหมักไปใช้ในแปลงเกษตรก็จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งช่วยเพิ่มแร่ธาตุ อินทรีย์วัตถุ ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง และช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น เป็นต้น การดำเนินโครงการ การเรียนและการฝึกปฏิบัติ
โดยศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลไทยบุรี กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีนายธีรชัย ช่วยชู อายุ 53 ปี เป็นผู้ใหญ่บ้านและประธาน โดยนายธีรชัย ช่วยชู เป็นนักเรียน ปอ.ของกศน อำเภอท่าศาลา และมีความกระตือรือร้นประชุมประจำหมู่บ้านทุกเดือนในการพัฒนาหมู่บ้าน และเข้าร่วมประชุมวางแผนในการทำแผนจุลภาคทุกครั้งที่ ครู กศน. ตำบลไทยบุรี ซึ่งหมู่ที่ 9 ได้เสนอในที่ประชุมทำโครงการ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ทางสมาชิกกลุ่มก็เห็นด้วย ในการทำปุ๋ยหมัก (สูตรรวม)
การเตรียมวัสดุ
- มูลโค จำนวน 20 กระสอบ ๆ 50 บาท
- มูลไก่ จำนวน 20 กระสอบ ๆ ละ 45 บาท
- ปุ๋ยยูเรีย 1 กระสอบ 1000 บาท
- ขุยมะพร้าว 1 รถ หกล้อ ๆ ละ 2000 บาท
- การน้ำตาลลิตรละ 50 บาท
- หัวเชื้อจุลินทรีย์ลิตรละ 120 บาท
- รำละเอียดกระสอบละ 300 บาท
- มูลค้างคาวกระสอบละ 200 บาท
- ผ้ายางคลุมกองปุ๋ยหมักผืนละ 500 บาท
การเตรียมอุปกรณ์
- โรงเรือนชนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร
- จอบ
- ผ้ายางคลุมกองปุ๋ยหมักผืนละ 500 บาท
- บวยรดน้ำ
กระบวนการหมักของปุ๋ยหมัก
- การหมักแบบใช้ออกซิเจน เมื่อวัสดุหมักเกิดการย่อยสลายจนได้สารอินทรีย์ตั้งต้น ได้แก่ ไขมัน โปรตีนคาร์โบไฮเดรต เซลลูโลส ลิกนิน ฯลฯ สารเหล่านี้ จะถูกจุลินทรีย์จำพวกที่ใช้ออกซิเจนย่อยสลายด้วยการดึงออกซิเจนมาใช้ในกระบวนการ และสุดท้ายจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นฮิวมัส น้ำ ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แอมโมเนีย (NH3) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และพลังงานความร้อน
- การหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน สารอินทรีย์จะถูกย่อยสลายในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน โดยอาศัยการทำงานของจุลินทรีย์จำพวกที่ไม่ใช้ออกซิเจน 2 กลุ่ม คือ จุลินทรีย์สร้างกรด และจุลินทรีย์สร้างมีเธน ซึ่งจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์สุดท้าย ได้แก่ ก๊าซมีเธน (CH4) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แอมโมเนีย (NH3) และพลังงานความร้อน
ปุ๋ยหมักชีวภาพ และวิธีการทำ
ปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นวิธีการทำปุ๋ยหมักที่มีการพัฒนาขึ้น เพื่อให้การย่อยสลายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ หรือ EM เพื่อเร่งกระบวนการหมัก ทำให้เกิดปุ๋ยจากอินทรีย์วัตถุที่มีการปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เร็วขึ้น แบ่งเป็นชนิดต่างๆ ได้แก่
- ปุ๋ยหมักจากปุ๋ยคอก วัสดุ และส่วนผสมประกอบด้วย
- ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ประมาณ 10 ปี๊ป
- แกลบเผา/แกลบดำ 1 ส่วน
- รำละเอียด 1 ส่วน
- เชื้อ EM 20 ซีซี
- กากน้ำตาล 100 ซีซี
- น้ำ10 ลิตร
วิธีทำ 1) ผสมปุ๋ยคอก แกลบดำ และวัสดุทุกอย่างให้เข้ากัน
2) นำไปกองบนพื้นซีเมนต์ แล้วใช้ผ้าคลุมหรือหากทำปริมาณน้อย ให้บรรจุใส่ถัง หรือถุงกระสอบ
3) หมักทิ้งไว้ 30 วัน ก่อนนำใส่ต้นไม้หรือแปลงผัก
- ปุ๋ยหมักจากพืช ปุ๋ยหมักฟางข้าว วัสดุ และส่วนผสม
- ฟางแห้งสับละเอียด 1 ส่วน ประมาณ 10 กก.
- แกลบดิบ/แกลบเผา 1 ส่วน
- ปุ๋ยยูเรีย 200 กรัม
- กากน้ำตาล 100 ซีซี
- เชื้อ EM 20 ซีซี
- น้ำ 10 ลิตร
วิธีทำ 1) คลุกผสมฟาง และแกลบให้เข้ากัน หากมีจำนวนมากให้แยกคลุก แล้วค่อยมารวมกันเป็นกองเดียวอีกครั้ง
2) ผสมเชื้อ EM และกากน้ำตาลร่วมกับน้ำ หลังจากนั้น ใช้เทราด และคลุกให้เข้ากันกับวัสดุอื่นๆ
3) นำไปหมักในถัง ถุงกระสอบ หรือ บ่อซีเมนต์ นาน 1-2 เดือน ก็สามารถนำไปใช้ได้
- ปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษอาหาร และขยะ
ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร หากมีเฉพาะเศษอาหารที่เป็นพืชมักจะไม่มีปัญหา เพราะเวลาเน่าจะมีกลิ่นเหม็นไม่รุนแรง เราสามารถนำไปคลุกกับปุ๋ยคอกในรางทำปุ๋ยหมักได้เลย แต่หากมีเนื้อสัตว์จะมีกลิ่นเหม็นรุนแรง สำหรับบางครัวเรือนที่มีข้อจำกัดปริมาณเศษอาหารที่เกิดน้อย หากต้องการทำปุ๋ยหมักจำเป็นต้องทำรางหมักหรือหลุมหมัก แต่หากจะหมักในถังจะมีข้อจำกัดที่เต็มเร็ว การทำรางหมัก ควรหาพื้นที่ว่างบริเวณหลังบ้าน ขนาดพื้นที่ประมาณ 1 เมตร x 1 เมตร ลึกประมาณ 20-40 เซนติเมตร หรืออาจน้อยกว่า หรืออาจมากกว่าตามความต้องการ แต่ควรให้รองรับเศษอาหารให้ได้ประมาณ 1 เดือน และควรทำ 2 ชุด พร้อมฉาบด้านข้างด้วยปูนซีเมนต์ แต่หากไม่มีปัญหาเรื่องน้ำฝนหรือน้ำไหลเข้า ก็อาจขุดเป็นบ่อดินก็เพียงพอ ทั้งนี้ ควรทำร่องด้านข้าง เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้า และควรเตรียมผ้าใบคลุมเมื่อฝนตก โดยมีวัสดุ และส่วนผสม ประกอบด้วย
-
- ปุ๋ยคอก 1 ใน 4 ส่วนของรางหมัก
- แกลบดำ 2 ถัง หรือไม่ใส่ก็ได้
- น้ำผสมหัวเชื้อเชื้อ EM 1 ลิตร
- กากน้ำตาล 1 ลิตร
วิธิทำ 1) หลังจากที่เตรียมรางหมักแล้วให้เทปุ๋ยคอกและแกลบดำรองในรางไว้ เมื่อมีเศษอาหารให้นำมาใส่ในราง พร้อมใช้จอบคลุกผสมกับปุ๋ยคอก
2) รดด้วยน้ำหัวเชื้อชีวภาพ และกากน้ำตาลบริเวณที่ใส่เศษอาหารเล็กน้อย หากมีเศษอาหารเกิดขึ้นอีก ก็นำมาคลุก และใส่น้ำหัวเชื้อ ตามด้วยกากน้ำตาลเรื่อยๆจนเต็มบ่อ หากเต็มบ่อแล้ว ให้นำผ้าคลุกมาปิดไว้ และทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน ก่อนตักออกนำไปใช้ประโยชน์ระหว่างที่หมักทิ้ง ให้นำเศษอาหารที่เกิดในแต่ละวันมาหมักในอีกบ่อ ซึ่งจะเวียนกันพอดีในรอบเดือน ทั้งนี้ บางครัวเรือนอาจไม่สะดวกในการหาซื้อหัวเชื้อ หรือกากน้ำตาล ดังนั้น จึงไม่ต้องใช้ก็ได้ แต่จำเป็นต้องมีปุ๋ยคอก หรือใช้ปุ๋ยอื่น เช่น ปุ๋ยมูลไก่ ซึ่งส่วนนี้จำเป็นต้องใช้ นอกจาก การนำเศษอาหารมาทำปุ๋ยหมักแล้ว ปัจจุบันยังนิยมนำเศษอาหารทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งก็ง่าย และสะดวกไปอีกแบบ อ่านเพิ่มเติม น้ำหมักชีวภาพ
หลักพิจารณาปุ๋ยหมักพร้อมใช้
- ปุ๋ยหมักจะมีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ
- อุณหภูมิทั่วกองปุ๋ยหมักมีค่าใกล้เคียงกัน เนื่องจากเกิดปฏิกิริยาการหมักเกือบหมดแล้ว
- หากใช้นิ้วมือบี้ ก้อนปุ๋ยหมักจะแตกยุ่ยออกจากกันง่าย
- พบเห็ด เส้นใยรา หรือ พืชอื่นขึ้น
- กลิ่นของกองปุ๋ยหมักจะมีกลิ่นฉุนที่เกิดจากการหมัก
- หากนำปุ๋ยหมักไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการจะพบอัตราส่วนของคาร์บอน และไนโตรเจน ประมาณ 20:1 หรือคาร์บอนมีค่าน้อยกว่า 20 (ไนโตรเจนยังคงเป็น 1)
การนำปุ๋ยหมักไปใช้
- ใช้ในขั้นตอนเตรียมดิน/เตรียมแปลง ด้วยการนำปุ๋ยหมักชีวภาพโรยบนแปลง 2-3 กำมือ/ตารางเมตร ก่อนจะทำการไถพรวนดินรอบ 2 หรือ ก่อนการไถยกร่อง
- ใช้ในแปลงผัก และสวนผลไม้ ด้วยการนำปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กำมือ โรยรอบโคนต้น
ประโยชน์ปุ๋ยหมัก
- เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งปริมาณอินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
- ช่วยในการย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ในดิน ทำให้ธาตุอาหารถูกพืชนำไปใช้ได้รวดเร็วขึ้น
- ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
- ช่วยต้านการแพร่ของจุลินทรีย์ก่อโรคพืชชนิดต่างๆในดิน
- ทำให้ดินมีความร่วนซุย จากองค์ประกอบของดินที่มีดิน อินทรีย์วัตถุ น้ำ และอากาศในสัดส่วนที่เหมาะสม
- ช่วยปรับสภาพ pH ของดิน ให้เหมาะสมกับการปลูกพืช
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดึงแร่ธาตุของพืชจากปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอื่นที่เกษตรกรใส่
- ช่วยดูดซับความชื้นไว้ในดินให้นานขึ้น ทำให้ดินชุ่มชื้นตลอดเวลา
ที่มาข้อมูล : อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศีธรรมราช
ขอขอบคุณ :
ข้อมูลเพิ่มเติมครูภูมิปัญญา “การทำปุ๋ยหมัก”
นายธีรชัย ช่วยชู
เกิดวันที่ –
เบอร์โทรติดต่อ –